เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางของศาสนาอิสลาม

og1jiwopgVAiUByu1xq o - เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางของศาสนาอิสลาม
เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางของศาสนาอิสลาม

เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางของศาสนาอิสลาม ความพอเพียง เป็นเรื่องที่ต้องเกิดภายในจิตใจ และนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นจริง ในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของในหลวงนั้น ประกอบไปด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นหลักในทางสายกลางและการพึ่งพาตัว ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องที่สอดคล้องตามหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะ ซุนนะห์ ของ ท่าน นบีมูฮัมมัด (ซ.ล.) ที่ท่านถือเป็นแบบอย่างที่สมบูรณ์ยิ่งในเรื่องนี้อีกด้วย

จากความมั่นคงในทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น ต้องขึ้นอยู่กับความสมดุล ในการผลิต และความต้องการ ในการบริโภค ซึ่งถ้าหากว่าอย่างใดอย่างหนึ่งน้อยเกินไปหรือมากเกินไป เราจะไม่สามารถที่จะสร้างความมั่นคงและเกิดความยั่งยืนในทางเศรษฐกิจได้ และจะนำไปสู่ความพอเพียงได้อย่างแน่นอน แต่หากเราได้ยึดหลักตามแนวทางของของศาสดามูฮำมัด (ซ.ล.) แล้ว เราก็จะได้สัมผัสถึงความสำเร็จ สามารถยืนอยู่บนความพอดี และพอเพียงได้อย่างแน่นอน ดังวจนะของท่านนบี มูฮัมมัด (ซ.ล.) ที่ว่า

افضل الكسب بيع مبرور وعمل الرجل بيده رواه احمد

ที่กล่าวมาข้างต้นคือ “อาชีพที่ประเสริฐที่สุดก็คือ การค้าขายที่ซื่อสัตย์ และการทำงานด้วยน้ำพักน้ำแรงของตนเอง” ข้อมูลจาก อะห์หมัด จากอัลฮ่าดิษ ซึ่งในบทนี้จะเห็นได้ว่าท่านรสูลุลลออฮ ชี้เน้นให้เกิดการพึ่งพาตนเองและมีความซื่อสัตย์ตรงไปตรงมา ไม่เบียดเบียนผู้อื่น โดยการกระทำดังกล่าวควรเริ่มต้นที่ตนเองก่อน เริ่มนับที่ตัวเรา แต่หากต้องมีหลักพึงอาศัยซึ่งกันและกัน อันจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในอีกทางหนึ่งจากหลาย ๆ หนทาง

ซึ่งอย่างไรก็ตามนั้น ในมาตรฐานของคนเรามีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในแต่ละบุคคล ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับสถานะในแต่ละบุคคล แต่ละครอบครัว ความต้องการ และความหวังที่มีที่แตกต่างกัน ในการดำเนินชีวิตนั้นไม่มีสูตรสำเร็จใด ๆ ที่เป็นตัวตั้งค่ามาตรฐานของความพอเพียงว่า ควรแค่ไหน เพียงใด อย่างไร แต่ถ้าเราได้ยึดหลักตามแนวทางของศาสดามูฮำมัด (ซ.ล.) แล้วนั้น ท่านก็ส่งเสริมให้ ยึดทางสายกลางเป็นหลักในการดำเนินการ ไม่มากไปหรือไม่น้อยไป ดังวจนะของท่านนบี มูฮัมมัด (ซ.ล.) ที่ว่า

جيرالامور

  ที่กล่าวข้างต้นคือ “ความน่าภาคภูมิใจ ในการได้มากับการใช้ไป ด้วยความกลมกลืนและเหมาะสมนั่น ถือว่าเป็นความสำเร็จระดับหนึ่ง ต่อการก้าวต่อไปอีกหลายๆ ก้าว” ดั่งเช่น เรื่องของอาหารที่ใช้ในการดำรงชีวิต เพราะถ้าหากเราสามารถผลิตได้เอง ปลูกไว้กินเองได้ หากเหลือจากการบริโภคแล้ว เรายังสามารถขยายไปสู่การจำหน่ายจ่ายแจก ก็ย่อมถือเป็นความมั่นคง ทางเศรษฐกิจแบบยั่งยืนได้ด้วยเช่นเดียวกัน ดังวจนะของท่านศาสดามูฮัมมัด (ซ.ล.) ที่มีความว่า

“ไม่มีอาหารใดจะดีกว่าอาหารที่ได้มาจากน้ำพักน้ำแรงของตนเอง U F A B E T และน่าบีของอัลเลาะห์ คือน่าบีดาวูด (อ) นั้น ท่านรับประทานอาหารที่ได้มาจากน้ำพักน้ำแรงของตน” ข้อความดังกล่าวจาก บูคอรีย์

0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0

ดังนั้นเศรษเราควร ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ใช้อย่างประหยัด รู้จักความพอดี มีวินัย เพื่ออนาคตที่สดใส ทั้งดุนยาและอาคิเราะฮ์

0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 00 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0

Share